ข้อมูล
 
ยี่ห้อ / ผู้ผลิต
 
DBD Registered
ได้รับเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
 
Product
-อะไหล่ DMD Chip
-หลอดภาพ โปรเจคเตอร์
-จอภาพ Notebook LCD LED
-อะไหล่ อิเลคทรอนิคส์ IC
-อะไหล่ คอมพิวเตอร์
 
left   34,119`1206
Thanks for Shopping
 

Capacitor

Capacitor คืออะไร
Capacitor ตัวเก็บประจุ (Capacitor) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคอนเดนเซอร์หรือเรียกย่อ ๆ ว่าตัวซี (C) 
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บประจุและคายประจุ(Charge-Discharge) นิยมนำมาประกอบในวงจรทางด้าน
ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  หน่วยของ Capacitor คือ ฟารัด (Farad)

ความสำคัญของ Capacitor
ตัวเก็บประจุ หรือ Capacitor หรือ Condensor สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น

ฟิลเตอร์ คือ การกรองไฟ DC ให้เรียบ
คัปปลิ้ง คือ การถ่ายทอดสัญญาณ หรือเชื่อมโยงสัญญาณเข้าด้วยกัน
บายพาส คือ คือการกรองผ่านความถี่
บล็อกกิ้ง คือ การกั้นการไหลของกระแสไฟ DC 

โครงสร้างของ Capacitor

 ชนิดของ Capacitor
 
Capacitor มีมากมายหลายชนิด มีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามลักษณะของโครงสร้าง และชนิดของสารที่นำมา
ทำเป็นไดอิเล็กตริค โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ตามลักษณะของการใช้งานที่แตกต่างกันดังนี้

Capacitor แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
      1. ตัวเก็บประจุชนิดค่าคงที่ (Fixed Capacitor)
      2. ตัวเก็บประจุชนิดเปลี่ยนแปลงค่าได้ (Variable Capacitor)
      3. ตัวเก็บประจุชนิดเลือกค่าได้ 

ตัวเก็บประจุชนิดค่าคงที่ (Fixed Capacitor)

เปเปอร์คาปาซเตอร์ (Paper Capacitor)
 เป็นคาปาซิเตอร์ที่ใช้กระดาษอาบน้ำยาทำเป็นแผ่นไดอิเล็กตริค กั้นระหว่างแผ่น
โลหะทั้งสองที่ทำจากอลูมินั่ม สามารถทนแรงดันไฟได้สูง 400 - 1200 โวลท์
ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว

โพลีเอสเตอร์คาปาซเตอร์ (Polyester Capacitor)
ผลิตมาจากโพลีเอสเตอร์หรือพลาสติกตัวนำ ลักษณะการใช้งานและคุณสมบัติ
คล้ายกันกับชนิดเปเปอร์ การสูญเสียน้อยกว่าชนิดเปเปอร์

 โพลีคาร์บอเนตคาปาซิเตอร์ (Polycarbonate Capacitor)
เป็นคาปาซิเตอร์ที่มีค่าความจุสูงกว่าชนิดโพลีเอสเตอร์ มีขนาดเล็กกว่าชนิด
โพลีเอสเตอร์ มีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้อยกว่าชนิดโพลีเอสเตอร์
และสามารถใช้ทดแทน Capacitor ชนิดโพลีเอสเตอร์ได้
 
ชนิดฟีดทรู (Feed-through Capacitor)
มีลักษณะโครงสร้างเป็นตัวถังทรงกลมมีขาใช้งานหนึ่งหรือสองขา
ใช้ในการกรองความถี่รบกวนมักใช้ในวิทยุรถยนต์
 
เซรามิกคาปาซิเตอร์ (Ceramic Capacitor)
เป็นคาปาซิเตอร์มีใช้กันอยู่ทั่วไป มีการสูญเสียมากเหมาะสำหรับใช้ในงาน
คัปปลิ้งความถี่วิทยุ
 
โพลีสไตรีนคาปาซิเตอร์ (Polystyrene Capacitor)
เป็น Capacitor ที่มีการสูญเสีย กระแสรั่วไหลต่ำที่สุด นิยมใช้ในงานคัปปลิ้ง
ความถี่วิทยุและวงจรที่ต้องการความละเอียดสูง
 
ซิลเวอร์ไมก้าคาปาซิเตอร์ (Silver Mica Capacitor)
เป็น Capacitor ที่มีการสูญเสียน้อย เหมาะที่จะใช้กับวงจรความถี่สูง เช่นความถี่วิทยุ
 
ฟีดทรูคาปาซิเตอร์ (Feed-through Capacitor)
เป็นคาปาซิเตอร์ที่ใช้ในการกรองความถี่รบกวน โครงสร้างเป็นแท่งทรงกลม
มีแกนโลหะอยู่ตรงกลาง มีขาต่อใช้งาน 2 ขา หรือขาเดียวก็ได้ โครงสร้างภายนอกจะถูกต่อลงกราวด์
 
อิเล็กโตรไลต์ติกคาปาซิเตอร์ (Electrolytic Capacitor)
เป็นคาปาซิเตอร์ที่มีค่าค่าความจุสูง ความผิดพลาดสูง มีโครงสร้างภายในไกล้เคียงกับแบตเตอรี่ มีขั้วบวกและลบ นิยมใช้กับงานความถี่ต่ำทั่วๆไป สารที่นำมาใช้ทำแผ่นตัวนำในคาปาซิเตอร์แบบนี้จะเป็นสารอลูมิเนียมโดยมีน้ำยาเคมีอิเล็กโตไลต์ติกทำหน้าที่เป็นไดอิเล็กตริก ช่วยเร่งปฎิกิริยาเคมีทำให้ประจุเกิดได้มากกว่าปกติ
 
แทนทาลั่มอิเล็กโตรไลต์ คาปาซิเตอร์ (Tantalum Electrolyte Capacitor)
Capacitor นี้มีความผิดพลาดน้อยใช้กับไฟฟ้ากระแสตรง ใช้ตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลั่มอิเล็กโตรไลต์นี้ทดแทนชนิดอิเล็กโตรไลต์ธรรมดา โครงสร้างภายใน
ประกอบด้วยแผ่นตัวนำทำมาจากแทนทาลั่มและแทนทาลั่มเปอร์ออกไซค์อีกแผ่นนอกจากนี้ยังมีแมงกานิสไดออกไซค์ เงิน และเคลือบด้วยเรซิน
 
ไบโพลาร์คาปาซิเตอร์ (Bipolar Capacitor) หรือไบแคป(Bi-Cap)
ลักษณะการทำงานและคุณสมบัติคล้ายกันกับแบบอิเล็กโตรไลต์ติกคาปาซิเตอร์แต่ไม่มีขั้ว นิยมใช้กันมากในวงจรเครื่องเสียง ขยายเสียง ภาคจ่ายไฟ
 
ไมลาร์คาปาซิเตอร์ (Mylar Capacitor)
มีค่าความผิดพลาดและกระแสรั่วไหลน้อยกว่า Capacitor แบบเซรามิค เพราะมี
ขนาดเล็กและมีค่าความจุสูงกว่าเซรามิค ในขณะที่มีค่าแรงดันของกระแสที่เท่ากัน
 
ตัวเก็บประจุชนิดเปลี่ยนแปลงค่าได้ แบ่งได้ 2 ชนิด

วาริเอเบิ้ลคาปาซิเตอร์ (Variable Capacitor)
เป็นคาปาซิเตอร์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความจุในตัวได้ เพื่อใช้ในการจูนรับ
ความถี่ โครงสร้างทำมาจากแผ่นโลหะมาวางซ้อนกัน ชุดหนึ่งติดตั้งคงที่ อีกชุดหนึ่งยึดติดกับแกนหมุน มีแผ่นอากาศเป็นไดอิเล็กตริค
 
ทริมเมอร์คาปาซิเตอร์และแพดเดอร์คาปาซิเตอร์ (Trimmer and Padder)
เป็น Capacitor ชนิดเปลี่ยนแปลงค่าความจุได้เพียงเล็กน้อย โครงสร้างเป็นเพียงโลหะเล็กๆ วางซ้อนกันมีแผ่นไมก้ากั้นกลาง มีสรูยึด ปรับค่าโดยการยึดหรือคลายสกรูถ้าต่อขนาดอยู่กับวงจรนิยมเรียกว่า ทริมเมอร์ ถ้าต่ออันดับนิยมเรียกว่า แพดเดอร์
 

การอ่านค่า Capacitor
ค่าของตัวเก็บประจุปกติมี 2 หน่วยด้วยกันคือ หน่วยไมโครฟารัด (uF) กับพิโกฟารัด (pF) ซึ่งการอ่านค่าในบางครั้ง ผู้ผลิตอาจพิมพ์ ตัวเลขค่าความจุเพียงอย่างเดียวโดยส่วนใหญ่จะอ่านค่ามีหน่วยเป็นไมโครฟารัด (uF)

ค่าความผิดพลาดของคาปาซิเตอร์
การแสดงเปอร์เซนต์ความผิดพลาดนิยมแสดงเป็น  2  แบบ คือ
แบบที่ 1 แสดงค่าความผิดพลาดเป็นเปอร์เซนต์โดยตรง เช่น 1% , 2%, 10% หรือ  20%  แบบที่ 2 แสดงค่าความผิดพลาด เป็นสัญลักษณ์ตัวอักษรภาษาอังกฤษ